10.21.2558

[แปล]10คีย์เวิร์ดสำคัญ สำหรับผู้เริ่มติดตามโนกิซากะมือใหม่

10คีย์เวิร์ดสำคัญ ไขความลับโนกิซากะ
~คัมภีร์สำหรับผู้ที่อยากจะทำความรู้จักกับวงโนกิซากะ~

นับจากวงโนกิซากะ46ที่ไม่มีอะไรเลย จนบัดนี้ก่อตั้งมาแล้ว4ปี สาเหตุอะไรกันที่ทำให้วงไอดอลกลุ่มนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆกันนะ วันนี้เราจะมาอธิบายอย่างละเอียดสำหรับผู้เริ่มติดตามมือใหม่กัน

*******************************************

















Keyword 1 [โรงเรียนเอกชนหญิงล้วน]

ความแตกต่างระหว่างโนกิซากะ46กับAKB48ที่คนทั่วไปมักจะพูดถึงก็คือ "AKB48ให้ความรู้สึกเหมือนโรงเรียนสหของรัฐบาล แต่โนกิซากะกลับให้ความรู้สึกเป็นโรงเรียนเอกชนหญิง"

บรรยากาศที่คละคลุ้งในงานจับมือของAKB48นั้น เหล่าเมมเบอร์เปรียบเสมือนเป็นนักเรียนหญิงในโรงเรียนสห ที่เหล่าแฟนๆทั้งชายและหญิงสามารถเรียกทักพวกเธอได้เหมือนเป็นเพื่อนกัน

ที่โนกิซากะมีภาพลักษณ์โรงเรียนเอกชนนั้น เนื่องจากโฆษณาตัวแรกของพวกเธอคือโฆษณาช็อคโกแลตทำมือของเมจิ ที่ถูกปล่อยเมื่อเดือนมกราคม ปี2012 ในโฆษณานั้นกลุ่มเซ็นบัตสึ* ได้มอบช็อกโกแลตให้แก่กันในวันวาเลนไทน์ โดยใช้โลเกชั่นถ่ายทำเป็นผ้าม่านในห้องเรียน ด้วยโฆษณานี้เอง ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์พวกเธอให้กลายเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนเอกชนหญิงล้วนสู่สายตาประชาชน


ยูนิฟอร์มของวงก็เช่นกัน ชุดของวงAKB48ที่ใช้ในการแสดงส่วนใหญ่จะเป็นกระโปรงสั้น เพื่อแสดงความสนุกสนานร่าเริง แต่ในโนกิซากะ ดีไซน์เนอร์ใช้แรงบันดาลใจจากชุดนักเรียนหญิงในประเทศฝรั่งเศสในการออกแบบเสื้อผ้าให้กับวง กระโปรงยาวคล้ายนักเรียนฝรั่งเศส จึงทำให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดูเรียบร้อยและน่าเอ็นดู

การแสดงคอนเสิร์ตก็เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง ใน1ปี โรงเรียนหญิงล้วนจะจัดงานวัฒนธรรมเพียงแค่ครั้งเดียว โดยจะเปิดให้นักเรียนชายได้เข้ามาสำรวจความเป็นอยู่ของโรงเรียนหญิงล้วน ซึ่งโนกิซากะก็มีลักษณะคล้ายเช่นนี้

สิ่งที่น่าสนใจคือ อิโคมะ รินะ, โฮริ มิโอนะ และ นิชิโนะ นานาเสะ ทั้งสามคนที่เคยเป็นเซ็นเตอร์ของวง ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม"โลกส่วนตัวสูง"

โดยปกติ ถ้าคนที่เงียบๆและขี้อายอย่างอิโคมะรินะหรือนิชิโนะนานาเสะไปอยู่ในกลุ่มไอดอลอื่นๆ คงจะได้ยืนในตำแหน่งตัวประกอบเท่านั้น แต่เธอสองคนกลับเปล่งประกายท่ามกลางเหล่าเมมเบอร์ และสร้างบรรยากาศแบบที่ไม่มีวงไอดอลไหนเคยทำมาก่อน ทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายห้องเรียนของโรงเรียนเอกชน ทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจจากคนที่ไม่เคยติดตามไอดอลอีกด้วย


จากตารางดังกล่าวเป็นการแสดงถึงลักษณะนิสัยของเมมเบอร์ต่างๆ
ด้านบน – เป็นคนร่าเริง
ด้านล่าง – มีโลกส่วนตัว
ด้านซ้าย – คล้ายผู้ชาย (Boyish)
ด้านขวา – คล้ายผู้หญิง (Girly)

เมมเบอร์ที่สังกัดอยู่ในกราฟด้านขวาบนนั้น เป็นคนน่ารักและเป็นผู้นำของวงโนกิซากะ เช่น ชิราอิชิ อิคุตะ อาคิโมโตะ มัตสึมุระ ซึ่งเป็นคนร่าเริงและเหมาะกับรายการวาไรตี้ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนาคาโมโตะกับเทระดะที่มีความเป็นไอดอลสูงมากๆรวมอยู่ด้วยเช่นกัน

เมมเบอร์ที่สังกัดอยู่ในกราฟด้านซ้ายบนนั้น มีลักษณะร่าเริงและคล้ายผู้ชาย นำโดยทาคายามะ ซึ่งมีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร และยังมีอิโต้คาริน คิตาโนะ และวาดะที่เป็นคลื่นลูกใหม่ของวงรวมอยู่ด้วย

เมมเบอร์ที่สังกัดอยู่ในกราฟด้านซ้ายล่างนั้น เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกน้อยที่สุด ประกอบด้วยอิโคมะ และฮาชิโมโตะที่มีนิสัยฉีกออกจากคนปกติ และยังมีอิโต้มาริกะ ซาซากิ ชินอุจิ ซุซุกิ ที่มีคาแรกเตอร์พิเศษสุดๆ เป็นที่รวมตัวของคนคาแรกเตอร์เฉพาะตัว

เมมเบอร์ที่สังกัดอยู่ในกราฟด้านขวาล่างนั้น ดูบริสุทธิ์ สุขุมเรียบร้อย อนาคตมีโอกาสได้ทำงานเป็นนักแสดงได้ประกอบด้วยเซนเตอร์อย่างโฮริและนิชิโนะ เป็นกลุ่มที่มีความเป็นโนกิซากะสูง

*******************************************



Keyword 2 [กลุ่มล่องลอย]

การก่อตั้งวงAKB48อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ว่า "ไอดอลที่สามารถไปพบเจอได้" โดยเปิดการแสดงทุกวัน ประจำอยู่ที่อากิฮาบาระ แต่โนกิซากะ ไม่มีอะไรอย่างที่ว่าเลย

เนื่องจากว่าไม่มีสถานที่เป็นหลักแหล่ง การจัดคอนเสิร์ตจึงทำในจังหวัดต่างๆ เช่นออกงานเทศกาลของจังหวัด หรือไปร่วมเป็นแขกในงานโรงเรียน และในปี2013ก็ได้เริ่มจัดทัวร์หน้าร้อนตระเวนไปตามแต่ละจังหวัด ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นที่มาของกลุ่มแฟนคลับที่แข็งแกร่ง และกลายเป็นไอดอลของทั่วประเทศ

AKB48นั้นตั้งฐานที่มั่นในโตเกียว และให้สื่อมวลชนทำข่าวกระจายไปสู่จังหวัดต่างๆ เป็นไอดอลที่มี"ที่ประจำ"ของตนเอง แต่โนกิซากะไม่มีที่ประจำ จึงถูกเรียกว่าเป็น "กลุ่มล่องลอย"

เพราะไม่สามารถพบเจอได้ตลอดเวลา แฟนคลับจึงให้ความสำคัญกับงานจับมือมาก เราจะได้เห็นการเติบโตมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปของเมมเบอร์แต่ละคนในงานจับมือแต่ละครั้ง และนิชิโนะนานาเสะก็ได้รับความนิยมเนื่องจากงานจับมือนี่เอง

และความที่เป็นกลุ่มล่องลอย ทำให้คนหันมาสนใจชื่อโนกิซากะกันมากกว่าเดิม ปกติชื่อAKB48, SKE48, NMB48 มีความหมายถึงสถานที่ที่แต่ละวงประจำอยู่ เช่น อากิฮาบาระ ซาคาเอะ นัมบะ แต่โนกิซากะนั้นกลับเป็นชื่อของตึกที่วงใช้ในการออดิชั่นรุ่นแรก แต่กลับไม่ได้ยึดติดกับสถานที่แต่อย่างใด


สถานที่ที่เรียกว่าโนกิซากะนั้นอยู่ที่โตเกียว แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการรถไฟใต้ดินสายจิโยดะที่ซึ่งผ่านสถานีโนกิซากะนั้น คงจะไม่คุ้นหูนัก ด้วยความที่คนทั่วไปไม่ทราบว่าชื่อของกลุ่มนั้นอยู่ตรงไหน จึงกลายเป็นกลุ่มล่องลอย และให้อิมเมจของวงนักเรียนเอกชนที่เรียบร้อยและชวนค้นหา

*******************************************


Keyword 3 [ทั่วทุกจังหวัด]

งานต่างๆของAKB48 นั้น ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต รายการวิทยุ รายการทีวี ล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่โตเกียวแทบทั้งสิ้น แม้ว่าในปัจจุบันจะมีสมาชิกจากต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมาจากการดราฟต์* หรือการจัดตั้งทีม8ที่มีสมาชิกจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่งานส่วนใหญ่ทำที่โตเกียว เมมเบอร์ที่โดดเด่นจึงเป็นคนที่อยู่ใกล้ๆโตเกียว เช่น ทาคาฮาชิ มินามิ(.โตเกียว), มาเอดะ อัตสึโกะ(.ชิบะ), โคจิมะ ฮารุนะ และ วาตานาเบะ มายุ (.ไซตามะ)

แต่ในขณะเดียวกัน เมมเบอร์หลักของโนกิซากะนั้นกลับเป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด เช่น อิโคมะ รินะ(.อาคิตะ), ชิราอิชิ ไม(.กุนมะ), โฮริ มิโอนะ(.กิฟุ), นิชิโนะ นานาเสะ(.โอซาก้า), อิคุตะ เอริกะ(เกิดที่ประเทศเยอรมัน) เซ็นเตอร์ทั้ง5คนของวงล้วนไม่ได้มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดโตเกียวเลย


มีเมมเบอร์หลายๆคนที่ได้รับความอนุเคราะห์จากบ้านเกิด เช่น อิโคมะรินะได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดอาคิตะ ทาคายามะคาสุมิได้เป็นตัวแทนการท่องเที่ยวของเมืองหนึ่งในจังหวัดชิบะ ซึ่งการช่วยโปรโมตนี้จะทำให้คนในชุมชนรู้สึกผูกพันกับวงมากขึ้น และช่วยขยายความนิยมให้กระจายไปทั่วประเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากการเปิดออดิชั่นรอบสองนั้นถูกจัดขึ้นในที่ต่างๆเช่น ซัปโปโร เซนได โตเกียว นาโกย่า โอซาก้า ฟุคุโอกะ โอกินาวะ และบริษัทโซนี่ มิวสิคเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ผลิตศิลปินมากมายที่ประสบความสำเร็จ เช่น YUI, นิชิโนะ คานะ ทางบริษัทจึงรู้วิธีที่จะปั้นวงไอดอลอย่างโนกิซากะให้สำเร็จได้อย่างไร

AKB48 เปรียบเสมือนทีมเบสบอลที่มีสาขาย่อยต่างๆเพื่อสร้างความนิยมในระดับภูมิภาค แต่โนกิซากะเปรียบเสมือนทีมเบสบอลที่รวบรวมความนิยมจากทั่วพื้นที่มาไว้ที่จุดเดียว



*******************************************



Keyword 4 [ออดิชั่น]

เมื่อพูดถึงวงAKB48หรือโนกิซากะ46 ภาพแรกที่ทุกคนนึกถึงคือเป็นวงไอดอลที่มีสมาชิกเยอะ เมื่อลองนับดูแล้ว ปัจจุบัน โนกิซากะมี 37คน แต่AKB48มีถึง90คน แบ่งออกเป็น5ทีม (รวมคนที่ควบทีม*ด้วย) จะเห็นได้ว่าโนกิซากะมีสมาชิกน้อยเมื่อเทียบกันกับAKB48

หลังจากการก่อตั้งวงAKB48ได้ไม่นานก็มีการจัดออดิชั่นรุ่นที่2ขึ้น ได้สมาชิกใหม่เป็นโอชิมะ ยูโกะ และจัดตั้งทีมใหม่ขึ้นมาหรือทีมK นั่นเอง หลังจากนั้นก็จัดการออดิชั่นขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่ปีที่5 ก็ได้จัดออดิชั่นรุ่นที่9ขึ้นมาพร้อมๆกับการออดิชั่นโนกิซากะ (รุ่นที่9ได้แก่ โยโคยามะ ยุย, ชิมาซากิ ฮารุกะ)

ส่วนโนกิซากะได้เริ่มออดิชั่นรุ่นที่2เมื่อวงเข้าสู่ปีที่3 และหลังจากนั้นก็ยังไม่มีการเปิดออดิชั่นอีกเลยจนมาถึงปัจจุบัน

วงน้องสาวของAKB48 ซึ่งก็คืือวง SKE48 นั้นถูกฟอร์มวงขึ้นหลังจากที่AKB48ผ่านไป2ปี7เดือน ทางด้านวงโนกิซากะ46 ได้เปิดการออดิชั่นวงเคยากิซากะ46หลังจากที่วงเข้าสู่ปีที่5 (แต่ก็ไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าวงเคยากิซากะกับโนกิซากะเป็นวงพี่น้องกันจริงหรือไม่)


ภาพลักษณ์ของแต่ละทีมในAKB48นั้น จะต่อสู้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งภายในทีมกันเอง อย่างเช่นการจัดงานกีฬาสี48 ในขณะที่วงโนกิซากะ46จะเหมือนการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกันเสียมากกว่า

การที่วงโนกิซากะ46มี37คนนั้น ให้ความรู้สึกราวกับห้องเรียนหนึ่งห้อง ที่ครูประจำชั้นสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง และกฏหมายปัจจุบันได้เสนอแนวทางให้โรงเรียนประถมมีนักเรียน35คนต่อ1ห้อง ซึ่งเป็นตัวเลขที่แทบจะใกล้เคียงกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ การถ่ายรูปลงนิตยสาร หรือการได้ออกทีวี ตัวเลขจำนวนนี้จะสามารถแสดงทุกคนอยู่ในเฟรมได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ ทำให้ทุกคนได้โชว์จุดขายของตัวเอง และเป็นการให้โอกาสแก่สมาชิกทุกคนด้วย

ด้วยจำนวนเพียงเท่านี้ ทำให้แฟนๆไม่ได้สนับสนุนใครคนใดคนหนึ่ง แต่สนับสนุนสมาชิกทั้งวง(ฮาโกะโอชิ*)อยู่จำนวนไม่น้อยเช่นกัน และพลังการสนับสนุนของแฟนๆที่เป็นฮาโกะโอชิจึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันวงนี้ต่อไป

*******************************************


Keyword 5 [โนกิโดโกะ]

คำๆนี้มาจากชื่อรายการทีวี [Nogizakatte, Doko?] (โนกิซากะอยู่ที่ไหน?)

รายการนี้เริ่มฉายในเดือนตุลาคม 2011 หลังจากที่วงก่อตั้งมาได้เพียง 2 เดือน และซิงเกิ้ลยังไม่ได้เดบิวท์ด้วยซ้ำ รายการฉายทุกวันอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนครึ่ง ผลิตโดยบริษัทเทเรบิไอจิ ฉายทางช่อง6เทเรบิโตเกียว ฉายครั้งแรก4จังหวัดใหญ่รวมถึงที่ฮอกไกโด และหลังจากนั้นก็มีการแพร่ภาพไปยังจังหวัดอื่นๆเพิ่มขึ้นด้วย

รายการประจำรายการแรกของAKB48คือรายการ [1ji 59fun!] (ปัจจุบันก็คือรายการAKBINGO! นั่นเอง) รายการนี้เริ่มหลังจากที่ก่อตั้งวงAKB48ได้2ปี และฉายทางช่องนิฮงเทเรบิ ที่แพร่ภาพเพียงทั่วเขตคันโต(เขตตะวันออก)เท่านั้น เมื่อเทียบดูแล้ว ทางทางโนกิซากะเริ่มต้นการโฆษณาตัวเองโดยแพร่ภาพไปทั่วประเทศมากกว่า

เนื่องจากเป็นรายการของไอดอลที่ไร้ชื่อเสียง จึงทำให้มีเพียงแฟนคลับดูเท่านั้น พิธีกรรายการเป็นดาราตลกชื่อดัง "บานาน่าแมน" ซึ่งช่วยดึงคาแรกเตอร์ของสมาชิกในวงออกมาได้อย่างดี และทำให้กลายเป็นที่จับตามองของคนทั่วไป


รายการในช่วงแรกๆนั้นได้ดาราตลกชื่อดังหลายๆท่านมาร่วมเป็นแขกรับเชิญ ได้แก่ อาริโนะ, อาริโยชิ, โอกิ(โอกิยาฮากิ), บากะริซุมุและทสึจิดะ เป็นต้น ทำให้วงโนกิซากะกลายเป็นที่สนใจ และได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวงการบนเทิงมากมาย

และเพราะรายการนี้ที่ทำให้เมมเบอร์หลายๆคนเริ่มมีสีสัน มีคาแรกเตอร์เป็นของตัวเอง เช่นการแคมเปญโปรโมตซิงเกิล*ที่นิชิโนะนานาเสะได้กระโดดบันจี้จัมป์ลงมาจากมาเก๊าทาวเวอร์

นอกจากนี้ การประกาศผลเซ็นบัตสึของวงAKB48 มักจะดำเนินการที่งานคอนเสิร์ต โนกิซากะนั้นประกาศซบส.ที่รายการโนกิโดโคะ ซึ่งเราจะได้เห็นภาพความดีใจเสียใจที่เป็นของจริงสดๆบนหน้าจอ และกลายเป็นประเด็นต่างๆในเว็บไซต์ของแฟนคลับ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของผู้ติดตามวงหน้าใหม่ต่อไป

หลังจากที่รายการโนกิโดโคะจบลงไปในเดือนเมษายน ปี2015 ก็มีรายการ [โนกิซากะโคจิจู] มาแทน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของสมาชิก


*******************************************


Keyword 6 [พรินซิเพิล]

"พรินซิเพิล" เป็นคำเรียกชื่อย่อๆของละครเวที "16 Nin no Principal” ที่เริ่มต้นขึ้นในปี2012 ที่ห้างParco ในเขตชิบุยะ จ.โตเกียว เมมเบอร์หลายๆคนกล่าวว่าพวกเธอเติบโตขึ้นเพราะละครเวทีนี้ ส่วนปี2013การแสดงได้ย้ายไปจัดที่โรงละครACTในย่านอาคาซากะ และที่โรงละครอุเมดะ จ.โอซาก้า

ความน่าสนใจคือ การแสดงในช่วงที่1จะให้สมาชิกทุกคนออกมาแนะนำตัวเอง และผู้ที่จะทำการแสดงในช่วงที่2จะถูกตัดสินโดยการโหวตของท่านผู้ชม ซึ่งเป็นระบบการจัดอันดับที่แปลกใหม่มากๆ และเปรียบเสมือนเป็น"งานเลือกตั้งเซ็นบัตสึของวงโนกิซากะ46”ไปกลายๆ แต่ทว่าในปีที่2นั้นได้เปลี่ยนแปลงระบบใหม่ โดยให้เมมเบอร์เลือกบทที่อยากจะเล่น หลังจากนั้นจึงให้ผู้ชมโหวตผู้ที่ร่วมท้าชิงในบทนั้นๆแทน

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้ ก็เพื่อเปลี่ยนความคิดสมาชิกในวงที่มุ่งเป้าหมายคือเซ็นเตอร์เท่านั้น เป็นความคิดที่ว่าสามารถเปล่งประกายได้ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งใดก็ตาม


ปกติวงไอดอลต่างๆจะแสดงความสามารภทางการการร้องเพลงและการเต้น แต่เวทีพรินซิเพิลช่วยนำเสนอภาพด้านการแสดงด้วย มีสมาชิกคนหนึ่งที่ได้แสดงในช่วงที่2ของทุกรอบ คืออิคุตะ เอริกะ นอกจากนี้เธอยังได้แสดงละครเรื่อง [Zannen na Otto] และ [Hatsumori Bamars] ด้วย

"พรินซิเพิล" นั้นเป็นศัพท์ทางบัลเล่ต์ มีความหมายถึงผู้ที่ได้เต้นเป็นนักแสดงนำ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงที่สุดในกลุ่มนักเต้น จึงเป็นที่มาของคอนเซปต์ของละครเวทีนี้ ตำแหน่งเซ็นเตอร์ที่ไม่ว่าใครก็สามารถขึ้นไปยืนได้ ซึ่งในปีที่แล้วในงาน[16Nin no Principal] รอบบ่ายของวันที่8มิถุนายน ผู้ที่ได้รับบทตำแหน่งเจ้าหญิงโพริ่งคือ วาตานาเบะ มิเรีย สมาชิกรุ่นที่2ของวง และในขณะนั้นเธอเป็นเพียงเคงคิวเซย์(เด็กฝึกหัด)เท่านั้น

ผู้ที่ได้เล่นละครครบทุกบท มีเพียง นิชิโนะ นานาเสะ, อิคุตะ เอริกะ, วาคัตสึกิ ยูมิ, ชิราอิชิ ไม, อิโนะอุเอะ ซายูริ และ ฟุคุกาวะ ไมเท่านั้น










*******************************************


Keyword 7 [อันเดอร์ไลฟ์]

ในระบบของวงโนกิซากะ4 ใช้ระบบเซ็นบัตสึเมมเบอร์เช่นกัน เพราะการไปออกรายการต่างๆเช่นรายการเพลง หรือรายการวาไรตี้ จะมีคนที่สามารถออกรายการได้เพียงจำนวนจำกัด ทำให้มีเพียงแถวหน้าเท่านั้นที่จะได้รับโอกาส

ผู้ที่ไม่ได้เป็นซบส.จะถูกเรียกว่าอันเดอร์ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการจัดแสดงที่ชื่อว่า "อันเดอร์ไลฟ์" ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี2014 ในปีเดียวกันเดือนตุลาคมก็ขยายการแสดงเพิ่มในชื่อSecond Season และครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม ที่อาริอาเคะโคลอสเซียม ที่สามารถจุคนได้ถึง8000คน และจัดเพิ่มอีกรอบในปี2015ในชื่อThird Season ช่วงฤดูใบไม้ผลิ จัดการแสดงทั้งหมด 8รอบ ในเวลา6 วัน

การร้องเพลงของโนกิซากะ46 แต่หมุนเวียนเซ็นเตอร์ไปเรื่อยๆนั้นกลายเป็นเสน่ห์ของอันเดอร์ไลฟ์ไปอีกแบบ การที่ได้เห็นสมาชิกในวงที่ไม่โดดเด่นสักเท่าไหร่นั้นกลายเป็นที่จับตามองของแฟนๆ


ศูนย์กลางของอันเดอร์ในปี2014 อิโต้ มาริกะ และ ไซโต้ อาสุกะนั้นขยับขึ้นมาเป็นซบส.ในปี2015 ในซิงเกิล[Inochi wa Utsukushii] และต่อเนื่องไปถึงซิงเกิล [Taiyou Knock]ด้วย ในช่วงThird Seasonผู้ที่เป็นศูนย์กลางของอันเดอร์อย่างอิโนะอุเอะ ซายูริ และ ไซโต้ ยูริ ก็กลับเข้ามาเป็นซบส.ด้วยเช่นกัน การได้ร่วมประเมินสาวๆจากการแสดง และได้เห็นการก้าวขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งซบส.ก็เป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งของเหล่าแฟนๆเช่นเดียวกัน

ความสำเร็จของการจัดอันเดอร์ไลฟ์ไม่ได้มีเพียงแค่ช่วยกระตุ้นความสามารถที่แท้จริงของอันเดอร์เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อคนอื่นๆด้วยเช่นกัน เหล่าสมาชิกคนอื่นๆต่างก็ร่วมเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับไลฟ์จากผู้ที่เคยผ่านอันเดอร์ไลฟ์ด้วยเช่นเดียวกัน

โนกิซากะ46เป็นวงที่มีประสบการณ์บนเวทีน้อย เนื่องจากไม่มีเวทีที่ใช้การแสดงประจำ แต่ด้วยอันเดอร์ไลฟ์ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถการแสดงบนเวทีของพวกเธอ

ตลอดมา อันเดอร์จะมีภาพลักษณ์ที่ต้องอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่อันเดอร์ไลฟ์ของโนกิซากะช่วยขยายกรอบเหล่านั้นให้กว้างออกไป จนกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโนกิซากะ46 และในวันที่17-18ธันวาคมนี้จะมีการจัดอันเดอร์ไลฟ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่นิฮงบุโดคัง จ.โตเกียว

*******************************************


Keyword 8 [ฟุคุจิน]

ในกลุ่มของเซ็นบัตสึ คนที่ได้ยืนอยู่ข้างหน้าผู้อื่นและทำกิจกรรมหลักของวงจะถูกเรียกว่า "ฟุคุจิน" ผู้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด7อันดับ ในAKB48จะถูกเรียกว่า "คามิเซเว่น" แต่โนกิซากะจะเรียกว่า "ชิจิฟุคุจิน" (ชิจิ=7, ฟุคุจิน=เทพโชคลาภ) หลังจากนั้นจำนวนก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ คนกลายเป็น "จูฟุคุจิน" (จู=10) ในปัจจุบัน

ผู้ที่ได้เป็นชิจิฟุคุจินเดบิวท์ซิงเกิล [Guruguru Curtain] ได้แก่ อิคุตะ เอริกะ, อิโคมะ รินะ, ชิราอิชิ ไม, ทาคายามะ คาสุมิ, ฮาชิโมโตะ นานามิ, โฮชิโนะ มินามิ และ มัตสึมุระ ซายูริ หลังจากนั้นก็มีการผลัดเปลี่ยนนำคนที่ได้รับความนิยมขึ้นมา ได้แก่นิชิโนะ นานาเสะ, อาคิโมโตะ มานัตสึ ที่หยุดทำกิจกรรมเนื่องจากต้องเรียนหนังสือ


ความแตกต่างอย่างหนึ่งคือ การเลือกคามิเซเว่นในวงAKB48จะใช้การเลือกตั้งเป็นหลัก แต่ในโนกิซากะ46จะเลือกฟุคุจินจากการประชุมของสตาฟ และใช้รายการโนกิโดโคะในการประกาศฟุคุจินไปพร้อมๆกับการประกาศซบส.

ผู้ที่ถูกเลือกเป็นฟุคุจิน คือคนที่จะเป็นหน้าตาในการทำกิจกรรมต่างๆของวง เปรียบเสมือนเป็นด่านหน้าของการเป็นแฟนคลับของผู้ชม เร็วๆนี้ซบส.ของซิงเกิล[Taiyou Knock]ได้แสดงในละครทางช่องNHKเรื่อง[Hana Moyu]ทุกคน

แม้ว่าวงโนกิซากะจะไม่มีการเลือกตั้ง แต่เราก็ไม่เคยเห็นภาพของสมาชิกหย่อนยานในการฝึกฝนตนเองเลย ทุกคนพยายามขัดเกลาตนเองและแข่งกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะก้าวขึ้นมาในตำแหน่งฟุคุจิน


*******************************************

Keyword 9 [เมมเบอร์หลักๆ]

ถ้าคุณยังเป็นมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะติดตามใครดี เราขอแนะนำเมมเบอร์หลักๆที่ควรรู้จักไว้ครับ


อิโคมะ รินะ

อิโคมะ รินะ ทำหน้าที่เป็นเซนเตอร์ของวงตั้งแต่ซิงเกิลเปิดตัวจนถึงซิงเกิลที่6 และกลับมาดำรงตำแหน่งเซ็นเตอร์อีกครั้งหนึ่งในซิงเกิลที่12 [Taiyou Knock]

เนื่องจากเธอมีงานเดี่ยวเยอะพอสมควรในช่วงแรกๆ จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คนส่วนใหญ่พอพูดถึงโนกิซากะ46ก็จะนึกถึงอิโคมะ รินะได้ทันที

ด้วยความที่เธอเป็นคนขี้อาย เธอจึงมักจะพูดอย่างถ่อมตัวอยู่เสมอว่าเธอเองไม่เหมาะกับการเป็นเซ็นเตอร์ แต่ความจริงแล้วเธอเองกลับมีลักษณะนิสัยที่โดดเด่นและดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างมาก ทำให้เรานึกถึงเซ็นเตอร์AKB48 มาเอดะ อัตสึโกะ ที่เคยร้องไห้เพราะไม่อยากยืนร้องเพลงคนเดียว

ลุคทอมบอยที่ไม่ตรงตามวิถีไอดอลทั่วไปก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของวงกลายเป็นที่สนใจ และสร้างภาพลักษณ์ไอดอลรูปแบบใหม่ๆขึ้น และในซิงเกิลที่13 [Ima, Hanashitai Dareka ga Iru] เป็นครั้งแรกที่อิโคมะ รินะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งฟุคุจิน อย่างไรก็ตาม เธอยังเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญต่อวงโนกิซากะ46อยู่เสมอ



นิชิโนะ นานาเสะ

นิชิโนะ นานาเสะ หรือที่เรามักจะเรียกชื่อเล่นเธอว่านาจัง ด้วยรอยยิ้มที่จับหัวใจแฟนๆ เธอจึงได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากงานจับมือ ในซิงเกิลเปิดตัวเธอไม่ได้อยู่ในตำแหน่งฟุคุจินด้วยซ้ำ เธออยู่ตำแหน่งแถวที่สาม แต่หลังจากนั้นความนิยมของเธอก็ค่อยๆเพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบันเธอก้าวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งเซ็นเตอร์ได้ในที่สุด กรณีนี้ทำให้เรานึกถึงมัตสึอิ เรนะ แห่งวงSKE48ที่เริ่มต้นจากการยืนอยู่แถวหลังแล้วกลายมาเป็นเซ็นเตอร์ได้ในที่สุด



อิคุตะ เอริกะ

อิคุตะ เอริกะ หรือที่เรียกกันเล่นๆว่า "อิคุจัง" เธอมีพรสวรรค์ทางด้านเปียโนถึงขนาดเคยลงแข่งระดับประเทศมาแล้ว ภาพที่เราจะเห็นกันบ่อยๆคือการที่เธอเล่นเปียโนร่วมร้องเพลงไปกับเพื่อนๆ เธอมีภาพลักษณ์ของคุณหนูน่ารัก แต่ไม่เคยยอมแพ้ให้กับเรื่องเปียโนและวงไอดอล

ปีที่แล้ว เธอหยุดกิจกรรมของวงทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวเข้าสอบต่อ เมื่อสิ้นสุดการพักและกลับมาทำงานต่อ เธอได้รับเลือกให้เป็นเซ็นเตอร์ทันที ในซิงเกิลที่10 [Nandome no Aozoraka?] ลุคที่เหมือนไอดอลสุดๆพลอยให้นึกถึงวาตานาเบะ มายุแห่งวงAKB48



ชิราอิชิ ไม

ชิราอิชิ ไม เคยเป็นเซ็นเตอร์ในซิงเกิลที่ 6 [Girl's Rule] และยังเป็นนางแบบประจำให้กับนิตยสารRay จึงมีแฟนคลับเป็นเพศหญิงอยู่จำนวนไม่น้อย นอกจากนี้เธอยังเป็นคนที่ใส่ใจเรื่องงานจับมือมากๆ เธอจะพูดคุยกับแฟนๆทีละคนอย่างสนิทสนม

นอกจากนี้ เธอยังมีลุคนิ่งๆ ดูเงียบขรึม แต่ก็Alertได้เกินความคาดหมาย เป็นความลับอย่างหนึ่งที่ทำให้เธอเป็นคนที่ได้รับความนิยมอย่างสูง

*******************************************


Keyword 10 [งานโซโล่]

สิ่งที่วงไอดอลระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นSMAP, Arashi หรือAKB48 มีเหมือนกันนั่นก็คือ การที่มีใครสักคนในวงเริ่มมีความโดดเด่นเกินวง และก้าวไปสู่การทำกิจกรรมเดี่ยวที่ตัวเองถนัด

ในวงโนกิซากะ46เองก็เช่นกัน ชิราอิชิ, มัตสึมูระ และ ฮาชิโมโตะ ได้ทำงานเป็นนางแบบในสังกัดนิตยสารต่างๆ และกวาดแฟนคลับที่เป็นผู้หญิงมาได้จำนวนไม่น้อย ส่วนอิคุตะ, ซากุไร และ อิโต้ มาริกะ ก็มีผลงานการแสดงในภาพยนตร์และละครต่างๆ

จะสังเกตได้ว่าคนที่ได้รับงานนางแบบหรือนักแสดงนั้นมักจะเป็นคนที่มีบุคลิกจางๆ ไม่มีสีสันที่ชัดเจน แล้วผู้ใหญ่ในวงการเล็งเห็นตรงนี้ และนำพวกเธอมาแต่งแต้มสีสันให้น่าสนใจ และกลายเป็นจุดขายไปในที่สุด


นอกจากนี้ ทาคายามะ, อิโคมะ และ อาคิโมโตะ ก็ได้รับเชิญไปออกรายการวาไรตี้อยู่บ่อยครั้ง โฮริ, วาดะ, อาสุกะ และ มิเรีย ก็มีโอกาสได้ไปออกรายการ [R no Housoku] ทางช่อง NHK มีสมาชิกหลายๆคนได้จัดรายการทางวิทยุ เริ่มจากไซโต้ ยูริ ที่เป็นพิธีกรผู้ช่วยประจำในรายการ [The Nutty Radio Onidamashi] ทางคลื่นNack5, ฮาชิโมโตะ, นาคาโมโตะ และชินอุจิ ก็ได้เป็นพิธีกรในรายการอื่นๆเช่นกัน

ถ้ามีใครรู้จักพวกเธอผ่านงานโซโล่ ก็ย่อมมีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟนของวงได้ไม่น้อย ทั้งนี้ งานโซโล่ก็เปรียบเหมือนการทำโฆษณาให้กับวง และช่วยขยายฐานแฟนคลับให้กว้างออกไป


*******************************************

ภาคผนวก : ศัพท์ต่างๆที่ควรรู้ (อันนี้เขียนเพิ่มเอง)

โอตะ = วิธีเรียกแฟนคลับของไอดอลญี่ปุ่น



โอตะเก ท่าเต้นของโอตะ (ไม่ได้แปลว่าโอตะที่เป็นเกย์นะเออ)

แฟนเกิร์ล โอตะที่เป็นผู้หญิง

ยิงMix = การตะโกนของโอตะในเพลง ซึ่งจะมีCall(เรียกชื่อสมาชิกในวงและตะโกนโค้ดคำต่างๆ แต่ละเพลงยิงMixไม่เหมือนกัน ต้องจำ


เซ็นบัตสึ (ซบส.) = คนที่ถูกเลือกให้ร้องเพลงโปรโมตของซิงเกิลนั้นๆ ในโนกิซากะ46ปกติมีประมาณ16-18คน ส่วนวงAKBอาจจะมีถึง30คน แล้วแต่ซิงเกิล ซึ่งในซบส.16คนจะมีฟุคุจินประมาณ7-10คน(2แถวหน้า) ฟุคุจินจะมีโอกาสได้ออกรายการทีวีต่างๆมากกว่า มีโอกาสได้ถ่ายลงนิตยสารเยอะกว่า
การเลือกซบส.ของวงโนกิซากะจะมีอุนเอย์เป็นคนตัดสินใจ ส่วนAKBใช้วิธีต่างๆ ทั้งอุนเอย์ เลือกตั้ง และเป่ายิ้งฉุบ

อุนเอย์ = (運営) ฝ่ายบริหารของวง คนที่มีอำนาจสูงสุดชื่อว่าคนโนะP

ดราฟต์ = ระบบออดิชั่นแบบใหม่ในวงAKB เป็นการคัดเลือกสมาชิกใหม่โดยสมาชิกในวงเป็นผู้ตัดสินใจเลือก

ควบทีม = การทำกิจกรรม2วงไปพร้อมๆกัน เช่น อิโคมะ รินะ เคยควบทีมโนกิซากะ กับทีมBของAKB

แคมเปญโปรโมตซิงเกิ้ล = แคมเปญที่ทำในรายการโนกิโดโคะ มีทุกซิงเกิล ทำเพื่อกระตุ้นยอดขาย เช่น สกายไดฟ์วิ่ง บันจี้จัมป์ ขัดพระพุทธรูป บำเพ็ญเพียรใต้น้ำตก ลุยไฟ ฯลฯ

ชิป = จิ้นคู่สมาชิกในวง เช่นชิปคู่วากะเร แปลว่าจิ้นคู่วากะกับเรย์กะ
เรือล่ม = คู่ที่จิ้นไปไม่ถึงฝั่งฝัน จิ้นไม่ไป

โม่ย = มาจากคำว่าคิโม่ยแปลว่าน่ารังเกียจ

เซนอะคุ = งานจับมือรวมทั่วประเทศ
โคะอะคุ = งานจับมือเดี่ยว
เซนสึ = ทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศ


หมวดโอชิ
โอชิ = สมาชิกที่เราสนับสนุน/ชื่นชอบมากที่สุดในวง
โอชิเมม = ย่อมาจากโอชิเมมเบอร์ มีความหมายเหมือนโอชินั่นแหละ
ตันโอชิ = มีโอชิเมมเพียงคนเดียว สนับสนุนเพียงคนเดียวในวง (ซึ่งหาได้ยากมาก)
คามิโอชิ = ชอบหลายคน แต่เป็นคนที่รู้สึกชอบเป็นพิเศษ
นิโอชิ = โอชิอันดับ2ที่ชอบรองมาจากคามิโอชิ
ฮาโกะโอชิ = ชอบทั้งทีม สนับสนุนทั้งทีม เช่นทีมAฮาโกะโอชิ คือชอบทีมAทั้งทีม
DD = ชอบทุกคน เลือกไม่ได้ หลายใจ ชอบพูดติดปากว่ารักใครไม่ได้แล้ว
โอชิเฮน = เปลี่ยนโอชิเมม
ไลน์ = กลุ่มสมาชิกที่เราชื่นชอบ
แตกไลน์ = ชอบคนเพิ่มหรือหันไปชอบคนในวงอื่นเพิ่ม

หมวดชื่อเล่น
นอกจากชื่อเล่นอย่างเป็นทางการ บางทีพวกเราก็ตั้งชื่อเล่นอื่นๆให้ด้วยความรัก(?)
อิคุตะ เอริกะ – อิคุด้ง, ด้ง, คุณหนูเอริ, เอริกะซามะ
อิโคมะ รินะ – โคะ, ลุงภูเขา
อิโต้ มาริกะ – O (อ่านว่ามารุ แปลว่ากลม มาจากหน้ากลม)
อิโนะอุเอะ ซายูริ - เนี๊ยงซายู
คาวาโกะ ฮินะ – คาวาP
ไซโต้ อาสุกะ – อาชุ, ชุ, ชุชุ
ซาซากิ โคโตโกะ – KTK, ลอร์ด
ชิราอิชิ ไม – คุณใหม่
ชินอุจิ ไม – OL
นาคาดะ คานะ – คะน้า
นากาชิมะ เซย์ระ – ระริน
โนโจ อามิ - โจ, จอนสัน
ฟุคุกาวะ ไม – พระแม่ไมไม
โฮชิโนะ มินามิ - มิจัง

หมวดท่าไม้ตาย
อาวุธประจำของเมมเบอร์ที่จะคอยพิชิตใจแฟนๆ


ฮิเมตันบีม – ท่าปล่อยลำแสงของฮิเมตัน ปัจจุบันกลายเป็นท่าที่ใช้กันแทบทั้งวง มีทั้งนานามินบีม ไมยังบีม นานาตันบีม อิคุจังบีม



สุคคิ้วน์ - ท่ายิงแสนน่ารัก(?)ของมานัตตัน ยิงทีไรโดนเพื่อนโห่ตลอด


ซายูริงโกะพันช์ - ท่าต่อยของซายูริงโกะ ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้แล้ว (เพราะอายุเยอะ?)


อเมซซิ่ง - ท่าปล่อยมุกประจำของคาสุมินเขาล่ะ


โรบ็อตแดนซ์ - ท่าใหม่ล่าสุดอันลือลั่นจากยูมิ ที่สร้างบาดแผลไม่น้อย


หมวดคาแรกเตอร์


โดอิยะซัง – นาจังเป็นผู้ออกแบบ


เทนจัง - อิโคมะเป็นผู้ออกแบบ